เพลง

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สายพันธ์ปลากัด

นับแต่การสร้างชาติไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัย การชนไก่ กัดปลา เป็นเกมการพนันที่ได้รับการจารึกว่า เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมาแต่โบราณ อันที่จริงแล้ว เกมกีฬาการกัดปลาของชาวไทยนั้น นอกจากปลากัดแล้วยังมีปลาอีกสองชนิด ที่นำมากัดแข่งขันกันคือ ปลาหัวตะกั่ว และปลาเข็ม แต่ก็ไม่แพร่หลาย ติดใจคนทั่วไปเหมือนปลากัด ทั้งนี้เนื่องมาจากสัตว์น้ำชนิดนี้นอกจากจะมีน้ำอดน้ำทนในการต่อสู้เป็นระยะเวลานาน ๆ แล้ว ลีลาการต่อสู้ก็เต็มไปด้วย ชั้นเชิงและศิลปะ และเหนือสิ่งอื่นใดนักรบจิ๋วเหล่านี้จะสง่างามยิ่งในระยะเวลาที่เข้าต่อสู้ ความสวยงามตามธรรมชาติของปลากัดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ทำให้คนนิยม ปลาชนิดนี้จึงเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงสวยงามและนักกีฬาตัวโปรดของคนไทย

















ปลากัดป่า

ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาล เทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม
ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า "เครื่อง" จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและเครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลาสามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ "ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหาปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปนอยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก
อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่

ปลาลูกหม้อ


ปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลาสังกะสี" ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงามแปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทยนับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้



                                    

 คำว่า "ลูกหม้อ" นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า "สังกะสี" เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอดน้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ "ลูกหม้อ" จึงเป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ "มาเลย์" หรือ "สิงคโปร์" ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการหมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้าได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง


ลีลาการต่อสู้ของปลากัด





ปลากัดป่านั้นเมื่อนำมากัดกัน จะมีน้ำอดน้ำทนไม่มากนัก ระยะเวลาการต่อสู้ของปลาพวกนี้ส่วนใหญ่ไม่เกิน 15-20 นาที แต่ลูกหม้อที่มีการคัด สายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องสามารถต่อสู้ได้นานนับชั่วโมง บางคู่อาจกัดกันข้ามวันข้ามคืน แต่โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอย่างต่ำประมาณ 3 ชั่วโมง ปลากัด สามารถต่อสู้อย่างต่อเนื่องได้นาน ๆ โดยไม่ต้องพักยก มีคั่นเพียงการโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เมื่ออยู่ในสภาพเตรียมต่อสู้ปลา จะมีการแผ่ครีบของเหงือก และเปล่งสีเต็มที่ หันหัวไปในทางเดียวกันโดยตัวใดตัวหนึ่งอยู่เยื้องไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปลาจะอยู่ในท่านี้ในระยะ เวลาสั้น ๆ เป็นวินาทีหรือหลายนาที แล้วจะเริ่มเข้าโจมตีกัดอย่างรวดเร็ว อาวุธหลักที่ใช้ทำร้ายศัตรูคือฟัน การโจมตีจะต่อเนื่องรุนแรง โดยมีระยะ เวลาพักที่ปลาแยกตัวออกมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อมในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วเข้าต่อสู้กันอีก จุดหลักสำหรับการโจมตีคือครีบก้น ครีบหาง และครีบหลัง ส่วนครีบอกและตะเกียบนั้น มักไม่ได้รับความสนใจมากนัก เมื่อการต่อสู้ผ่านไปเรื่อย ๆ ครีบเดี่ยวเหล่านี้จะถูกกัดขาดวิ่นไปเรื่อย ๆ จนบางครั้งเหลือ แต่โคนของก้านครีบ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการว่ายน้ำและควบคุมทิศทางลดลง จุดอื่นที่เป็นเป้าโจมตีของปลาคือด้านข้างลำตัว การกัดบริเวณ นี้อย่างรวดเร็วอาจทำให้เกล็ดร่วงหลุด แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำให้ถึงกับเป็นแผลบาดเจ็บ ยกเว้นบริเวณเหงือที่บางครั้งอาจถูกกัดขาดเป็นแผล ใน การพัฒนาสายพันธุ์ในระยะหลัง ๆ ทำให้ได้ปลากัดที่ฉลาดรู้จักที่กัดเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ สามารถกัดเฉพาะที่ที่เป็นจุดสำคัญ ๆ และกัดได้แม่นยำและ หนักหน่วง
เมื่อปลาถูกโจมตีซึ่ง ๆ หน้าไม่สามารถหลบหลีกได้ทัน ปลากัดจะประสานปากเข้ากัดรับ หันส่วนหัวเข้ากัดกันล็อกคขากรรไกรแน่น ท่านี้นักเลงปลา เรียกว่า "ติดบิด" ปลาจะปล่อยตัวตามยาวทำให้ส่วนที่เหลือของลำตัวหมุนบิดเป็นเกลียว จนจมลงพื้นและคงอยู่ท่านี้ประมาณ 10-20 วินาที จึงแยกจากกันเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศแล้วกลับมาต่อสู้กันใหม่ในท่าเดิม จริยธรรมของนักเลงแสดงให้เห็นในช่วงนี้ที่ไม่เคยมีปลาตัวไหนถูก ลอบกัดขณะขึ้นฮุบอากาศในการต่อสู้บางครั้งอาจจะติดบิดถึง 20 ครั้งจึงจะมีการแพ้การชนะ
การแพ้ชนะของปลากัดส่วนใหญ่เกิดจากการยอมแพ้เพราะเหนื่อยและสูญเสียความอดทนมากกว่าถูกพ่ายแพ้จากการบาดเจ็บ เมื่อปลากัดยอมแพ้ ไม่ต้องการต่อสู้จะว่ายน้ำหนี หรือหันด้านหางเข้าหาเมื่อคู่ต่อสู้เข้าโจมตีก็ถึงเวลาที่จะต้องจ่ายเงินและหิ้วปลากลับบ้าน
จากบันทึกของ เอช เอ็ม สมิต ที่ปรึกษาทางด้านสัตว์น้ำของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ชมดูการกัดปลามากกว่า 100 ครั้ง ยืนยันว่าการกัด ปลาไม่โหดร้ายป่าเถื่อนสยดสยองเหมือนที่เข้าใจกัน แต่เป็นการต่อสู้ที่เร้าใจเต็มไปด้วยศิลปะและความงาม ในลีลาการเคลื่อนไหว ความสง่า คล่องแคล่ว เฉียบแหลม และอดทน เมื่อสิ้นสุดการต่อสู้อันยืดเยื้อปลาทั้งคู่อาจอยู่ในสภาพไม่น่ามองเนื่องจากครีบถูกกัดขาดวิ่น หรือเกล็ดหลุด แต่ในระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ก็สามารถงอกกลับมาเป็นปกติใหม่จนไม่พบร่องรอยของการบาดเจ็บ
โดยปกตินักเลงปลาทั้งหลายจะมีวิธีการซ้อมปลาเพื่อให้พร้อมในการต่อสู้ โดยอาจใช้วิธีไล่น้ำโดยใช้มือกวนน้ำในอ่างให้น้ำวนอย่างแรง แล้วปล่อยปลา ให้ว่ายทวนน้ำหรือฝึก ออกกำลังโดยปล่อยปลากัด "ลูกไล่" ที่เป็นปลาไม่สู้ลงไปในโหลให้ซ้อมไล่กัด

นักสู้ผู้เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ
นอกจากการรักษากฎกติกา มารยาทในสังเวียนการต่อสู้แล้ว ความน่ารักอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรัง ดูแลไข่และตัวอ่อน รังจะเป็นหวอดที่ก่อขึ้นจากฟองอากาศที่ฮุบเข้าไปผสมกับเมือกเหงือกในปาก แล้วนำมาพ่นเป็นหวอดบริเวณผิวน้ำ เพื่อเป็นที่สำหรับฟองไข่และตัวอ่อน เกาะติด หลังจากเกี้ยวพาราสีตัวเมียจนเป็นที่ยินยอมพร้อมใจแล้วก็จะทำการรัดโดยตัวเมียจะปล่อยไข่ และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกันภายนอก ไข่จะพรั่งพรูออกมาเป็นชุด ๆ และจมลงสู่พื้นอย่างช้า ๆ พ่อแม่ปลาจะใช้ปากฮุบฟองไข่แล้วนำไปพ่นไว้ที่ฟองหวอดจนกว่าไข่จะหมด ซึ่งอาจใช้เวลานับ ชั่วโมงหลังจากนั้นพ่อปลาจะเป็นผู้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไข่และลูกอ่อน ลูกปลาที่เพิ่งฟักออกเป็นตัวจะฟักอยู่ภายใต้หวอดจนไข่แดงถูกใช้หมดและครีบ พัฒนาสมบูรณ์ หากลูกปลาพลัดตกจากหวอด พ่อปลาจะทำหน้าที่พาลูกกลับมาพ่นไว้ที่หวอดดังเดิม และคอยเสริมหวอดด้วยฟองอากาศที่พ่นใหม่ อยู่เรื่อย ๆ ในระยะนี้พ่อปลาจะยุ่งทั้งวันโดยไม่มีการพักผ่อน นอกจากจะต้องซ่อมแซมหวอดและคอยดูแลลูกปลาที่พลัดตกจากหวอดแล้ว ก็จะต้อง เฝ้าระวังศัตรูที่จะเข้ามากินลูกอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ปลาที่จะต้องถูกขับไล่ให้ไปอยู่ห่าง ๆ เนื่องจากชอบกินลูกของตัวเอง

ศัพท์ของนักเลงปลากัด
ถ้าพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าปลากัดมีอิทธิพลต่อสังคมไทยไม่น้อย คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในวงนักเลงปลาได้กลายเป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในสังคมไทยอย่าง แพร่หลายตั้งแต่ "ลูกหม้อ" ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีกำเนิดผูกพันอย่างแท้จริงเหมือนกับปลาลูกหม้อที่คัดสายพันธุ์ เลือกสรรลักษณะมาอย่าง ต่อเนื่อง "ลูกไล่" ซึ่งหมายถึงคนที่ถูกข่มอยู่ตลอดเวลา ดั่งปลาลูกไล่ที่ไม่ยอมสู้ปลาตัวอื่น "ก่อหวอด" หมายถึงการคิดกระทำ มิดีมิร้ายซึ่งเป็นอาการเตรียมการของปลากัดตัวผู้ที่วางแผนจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย "ถอดสี" อาการตกใจยอมแพ้ของปลากัด และ "ติดบิด" ซึ่งถูกนำมาใช้ในภาษามวยที่ต่อยแล้วกอดกันแน่น คำเหล่านี้ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นคำธรรมดา ซึ่งคนส่วนใหญ่ จะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วเป็นคำศัพท์ในวงนักเลงปลากัด

ปลากัดโดย ปลากัดจีน ปลากัดเขมร





ตามปกติเมื่อพูดถึงปลาลูกหม้อ หรือปลาหม้อ ก็จะมีคำว่าปลาจีนคู่กันอยู่เสมอ จนคนหลายคนเข้าใจผิดว่าปลาจีนเป็นปลากัดอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมา จากประเทศจีน ซึ่งโดยแท้จริงแล้วปลาทั้งสองชนิดนี้ก็เป็นปลากัดไทยที่มีพื้นเพมาจากปลากัดป่าของเราทั้งคู่เพียงแต่เมื่อมีการผสมคัดพันธู์เพื่อให้ได้ ปลาลูกหม้อที่กัดเก่งมีลักษณะที่ดีสวยงาม ก็เผอิญได้ปลาชนิดใหม่ที่ครีบและหางยาวออกมามากกว่าปกติ หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ครีบ และหางที่แผ่กว้างขึ้น มีลักษณะสวยงามขึ้น มีสีสันใหม่ ๆ ที่สวยงาม โดยวัตถุประสงค์หลักที่จะเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะลักษณะครีบที่ยาว รุ่มร่ามและสีสันฉูดฉาด เหมือนตัวงิ้ว จึงเรียกกันว่า ปลาจีน เลยทำให้คนเข้าใจผิดกันไปมากมาย ส่วนปลาเขมรนั้นเป็นปลากัดเผือก หรือ ปลากัดสีอ่อน เริ่มพัฒนาและเลี้ยงกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 แรก ๆ มีมากในประเทศเขมร โดยสรุปทั้งหมดก็เป็นปลาที่เกิดจากปลาป่าสายพันธุ์เดียวกัน เพียงแต่เมื่อมีการผสมคัดพันธุ์ที่ถูกต้องได้จังหวะ ลักษณะที่สวยงามมากมายของปลากัดที่เป็นลักษณะพันธุกรรมที่ซ่อนอยู่ในปลาป่า เมื่อมีการผสม คัดพันธุ์ให้ถูกต้องได้จังหวะความสวยงามเหล่านี้ก็จะปรากฎออกมาให้ได้ชื่นชม ในปัจจุบันจึงมีปลากัดรูปแบบและสีสันใหม่ ๆ ปรากฎออกมาอยู่เสมอ ๆ


การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์ครีบยาว
โดยความดึงดูดใจของความสวยงาม ปราดเปรียว ร่าเริง ความสามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์เมื่อถูกกระตุ้นและความที่เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ปลากัดไทย ได้ถูกฝรั่งนำไปเลี้ยงในยุโรป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 และต่อมาก็แพร่ไปที่สหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และได้มีการผสมคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ ้ปลากัดที่มีลักษณะ รูปแบบ สีสันต่าง ๆ มากมายปลากัดไทยที่นำไปเลี้ยงในประเทศต่าง ๆ ในช่วงนั้นเป็นปลากัดครีบยาวที่เรียกว่าปลาจีนเป็นหลัก ใน ระยะแรกการปรับปรุงพันธุ์จะมุ่งที่จะปรับปรุงสีที่มีอยู่แล้วให้สมบูรณ์ สวยงาม และสร้างสีใหม่ ๆ เป็นหลัก ในระยะประมาณ 70-80 ปีที่ผ่านมา ปลาที่ มีลำตัวสีอ่อน ที่เรียกปลากัดเขมรเป็นที่นิยมมาก และมีการพัฒนาสีสันต่าง ๆ กันอย่างหลากหลาย เช่นเดียวกับปลากัดสายพันธุ์ลิบบี้ ที่มีครีบยาว สวยงามมากกว่ากติถัดมาในช่วง 50-60 ปี ที่แล้วนักคัดพันธุ์ปลากัดทุ่มเทไปกับการพัฒนาปลากัดสีดำ ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากในช่วงนั้น จนมาถึงระยะ 20-30 ปีที่ผ่านมาจึงมีความสนใจในการพัฒนารูปแบบและรูปทรงของครีบปลากัดกันอย่างจริงจังปลากัดที่นิยมมากในยุคนั้นคือปลาหางสามเหลี่ยม หรือ "เดลต้า" ซึ่งหางกางทำมุม 45-60 องศา กับโคนหาง และที่เป็นที่นิยมสูงสุดคือ "ซุปเปอร์ เดลต้า" สีเดียวที่หางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ
เมื่อสิบปีที่แล้วมานี้ วงการปลากัดก็ต้องตื่นเต้นกับ "ฮาล์ฟมูนเดลต้า" ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาในประเทศ เยอรมันนีและฝรั่งเศส ปลากัดชนิดนี้มีครีบหางแผ่กว้างเป็นครึ่งวงกลม ทำมุม 180 องศากับโคนหาง หลังจากนี้ก็มีพระจันทร์ครึ่งซีกประเภทสองหาง ตามออกมา และในช่วงนี้นักเพาะพันธุ์ปลากัดก็หลงไหลอยู่กับ ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกหรือฮาล์ฟมูลเดลต้าอยู่หลายปี จนเมื่อประมาณสองปีที่แล้ว นักเพาะพันธุ์ชาวสิงคโปร์ก็ผลิตปลากัด "คราวด์เทล" หรือ "หางมงกุฎ" ออกมาให้วงการตื่นเต้นกันอีกครั้ง ซึ่งน่าจะได้จากการผสม ปลากัด "หางจัก" หรือ "หนามเตย" ที่พบอยู่เสมอ ๆ กับ "เดลต้า" หรือ "ฮาล์ฟมูนเดลต้า" จึงทำให้ได้ปลา ที่หางแผ่รูปสามเหลี่ยมจนถึงครึ่งวงกลมและมีขอบ เป็นจักรหรือเป็นซี่ในระยะปีสองปีที่ผ่านมานักคัดพันธุ์ทั้งในไทยและต่างประเทศได้ปรับปรุงปลากัด หางมงกุฏ จนได้รูปแบบใหม่ ๆ ออกมามากมาย และเริ่มมีการผสมกลับมายังปลาลูกหม้อ เพื่อความสมดุลย์ระหว่างครีบและลำตัวใน "เดลต้า" และ "ฮาล์ฟมูนเดลต้า" เป็นที่น่ายินดีว่าในปัจจุบันผู้เพาะเลี้ยงปลากัดในประเทศไทยหลายรายสามารถผลิตสายพันธุ์ปลากัดเหล่านี้ได้ใน ระดับดี ทำให้การปรับปรุงพันธุ์ปลากัดครีบยาวในบ้านเราก้าวขึ้นไปทัดเทียมไม่น้อยหน้ากับต่างประเทศ

การพัฒนาปลากัดลูกหม้อเพื่อเป็นปลาสวยงาม
ในขณะที่การพัฒนาปลากัดครีบยาวเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ปลากัดสวยงามในรูปแบบสีสันต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาเกือบศตวรรษที่ผ่านมา สำหรับปลากัดลูกหม้อนักเพาะพันธุ์ไทยก็ยังเน้นการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อการกัดแข่งขันเป็นหลัก ปลากัดครีบยาว หรือที่เรียกว่าปลาจีนในประเทศ ก็ขาดการพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นปลาที่ถูกจัดอยู่ในระดับคุณภาพค่อนข้างต่ำด้วยความห่วงใยในปลาสวยงาม ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเพชรน้ำหนึ่งของ ประเทศไทย ที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยไปทั่วโลกในนาม "ปลานักสู้แห่งสยาม" (Siamese Fighting Fish)
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้เริ่มดำเนินการที่จะฟื้นฟูสายพันธุ์ปลากัดในเมืองไทย โดยได้เริ่มการจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับ การปรับปรุงสายพันธุ์และมาตรฐานปลากัดในระดับสากล และได้เริ่มการจัดงานประกวดปลากัดขึ้นเป็นครั้งแรกในงานวันเกษตรแห่งชาติที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งได้จัดประกวดต่อเนื่องกันมาทุกปี จากนั้นมาทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงก็ได้เพิ่มรายการ ประกวดปลากัดในงานวันประมงน้อมเกล้าที่จัดทุกปี และมีการจัดประกวดกันอย่างต่อเนื่องโดยชมรม และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในช่วงนี้เองที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาลูกหม้อเพื่อเป็นปลาสวยงามกันอย่างเต็มที่ ทำให้ได้ปลากัดลูกหม้อที่มีสีสันสวยงาม ทั้งสีเดี่ยว สีผสม และลวดลายต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันรูปแบบสีสันของปลากัดลูกหม้อได้พัฒนาไปอย่างมากมายในทุกโทนสี และกลายเป็นปลาสวยงามอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายขึ้น และก็นับเป็นความภูมิใจของคนไทยที่บุกเบิกการพัฒนาปลาสายพันธุ์นี้อย่างต่อเนื่องก่อนชาติอื่น ๆ ไม่เหมือน ปลาครีบยาวหรือปลาจีนที่เราพัฒนาไปได้เพียงระดับหนึ่งแล้วก็หยุดอยู่กับที่ จนชาติอื่น ๆ นำไปพัฒนาจนไปค่อนข้างไกลกว่าคนไทยจะได้เริ่มให้ ความสนใจกลับมาพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดครีบยาวอีกครั้ง
รูปทรงของครีบนอกจากจะถูกพัฒนาให้ได้รูปแบบสวยงามตามปกติแล้วก็ยังมีการพัฒนาปลาที่ครีบหางแบ่งเป็นพู 2 ข้าง เป็นปลากัดหางคู่ซึ่งก็จะมี รูปลักษณะในหลาย ๆ รูปแบบทั้งเว้าลึก เว้าตื้น ปลายโค้งมนรับกัน หรือปลายแปลมแยกเป็นสองส่วน หรือเป็นลักษณะอื่น ๆ ซึ่งมีทั้งในปลาครีบยาว และในปลาลูกหม้อ ปลากัดหางคู่จะมีโคนหางใหญ่กว่าปกติเพื่อรองรับหางที่แยกเป็นสองส่วน มีลำตัวอ้วนสั้นกว่าปลาหางเดี่ยวเล็กน้อย และครีบหลัง จะมีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับครีบหาง

ลักษณะที่ดีของปลากัด
การดูลักษณะปลากัดจะดูเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ สี รูปทรง (ครีบและลำตัว) และกริยาอาการ ปลาที่สมบูรณ์มีลักษณะที่ดีจะต้องมีอาการกระฉับกระเฉง มีสีสันสวยงาม มีความสมดุลย์ระหว่างขนาดและลักษณะของครีบและลำตัว และมีครีบที่ได้ลักษณะสวยงาม ปลากัดมีครีบเดี่ยวสามครีบ คือ ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น และมีครีบคู่สองคู่คือครีบท้องหรือทวนหรือตะเกียบและครีบอกซึ่งอยู่ติดบริเวณเหงือก

ครีบหาง เป็นครีบที่มีรูปแบบหลากหลายมากที่สุด รูปแบบโดยทั่วไป สำหรับปลาหางเดี่ยวอาจเป็นหางกลม หางครึ่งวงกลม หางรูปสามเหลี่ยม หางกลมปลายแหลม หางย้วย และหางรูปใบโพธิ์ หางทุกแบบควรมีการกระจาย ของก้านครีบเท่ากัน ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของเส้นที่ลากผ่าน แนวขนานลำตัว หางควรแผ่เต็มสมบูรณ์ได้สัดส่วน ในกรณีของปลาหางคู่ลักษณะหางอาจเป็นลักษณะที่เชื่อมต่อกันจนปลายหางเกือบเป็นเส้นตรง หรือเว้าเล็กน้อย หรือเว้ามากเป็นรูปหัวใจ หรือหางแยกที่ซ้อนทับเกยกัน หรือหางที่แยกจากกันเต็มที่โดยไม่ซ้อนทับ หรือเป็นหางที่เว้าลึกในระดับ ต่าง ๆ แต่ยังไม่แยกกันเด็ดขาด

ครีบก้น ลักษณะครีบที่ดีควรจะมีขอบครีบส่วนหน้าและส่วนหลังขนานกันและค่อย ๆ โค้งไปทางด้านหลัง ขอบด้านหน้าและขอบด้านหลัง จะต้องไม่เรียวแหลมเข้าหากัน ลักษณะที่ดีจะต้องแผ่กว้างทำมุม และซ้อนทับดูเป็นเนื้อเดียวกันกับครีบหาง แต่ไม่เชื่อมต่อกับครีบหาง

ครีบท้อง ลักษณะควรเหมือนใบมีดที่มีด้านคมอยู่ด้านหลัง ขอบด้านหน้าโค้งเข้าเล็กน้อย ปลายแหลม ครีบทั้งคู่ควรมีความยาวและขนาด เท่ากัน และไม่ไขว้กัน ครีบจะต้องไม่สั้นหรือกว้างเกินไป และไม่ยาวหรือแคบเกินไป

ครีบอก ควรเป็นครีบที่สมบูรณ์กว้างและยาว

ลักษณะสีของปลากัด
โดยสรุปสีของปลากัดที่เป็นมาตรฐาน จะมีรูปแบบพื้นฐาน 5 รูปแบบ คือ สีเดี่ยว สองสี ลายผีเสื้อ ลายหินอ่อน และหลากสี

ปลากัดสีเดี่ยว

ปลากัดสีเดี่ยว เป็นปลากัดที่มีสีเดียวทั้งลำตัวและครีบ และเป็นสีโทนเดียวกันทั้งหมด ปลากัดสีเดี่ยวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปลากัดสีเดี่ยว สีเข้ม และปลากัดสีเดี่ยวสีอ่อน และอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ลงไปได้อีกตามรายละเอียดของสี ปลากัดสีเดี่ยวที่สมบูรณ์จะต้องไม่มีสีอื่นใดปะปนใน ส่วนของลำตัวและครีบเลย ยกเว้นที่ดวงตา และเหงือก

ปลากัดสองสี
ลักษณะที่สำคัญของปลากัดสองสี คือลำตัวจะต้องมีสีเดียว และครีบทั้งหมดจะต้องมีสีเดียวเช่นกัน แต่สีของครีบ จะต้องต่างกับสีของลำตัว ปลากัด สองสีอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ปลากัดสองสีชนิดลำตัวสีเข้ม ปลากัดสองสีชนิดนี้จะมีลำตัวสีเข้มสีใดสีหนึ่ง เช่น แดง ดำ น้ำเงิน เขียว และครีบก็ต้องเป็นสีเดียวที่เป็น สีอื่น ที่ไม่เหมือนสีของลำตัวโดยอาจเป็นสีเข้มอื่น ๆ หรือเป็นสีอ่อนก็ได้ ลักษณะที่สำคัญของปลากัดสองสีลำตัวสีเข้มที่ดีคือ มีสีลำตัวและสีครีบตัดกัน ัชัดเจน และสีของลำตัวและสีของครีบแยกกันตรงบริเวณที่ครีบต่อกับลำตัว

2. ปลากัดสองสีชนิดลำตัวสีอ่อน เป็นปลากัดที่มีลำตัวสีอ่อนสีใดสีหนึ่งและมีครีบอีกสีหนึ่งที่แตกต่างจากสีของลำตัวอาจเป็นสีอ่อนหรือเข้ม ก็ได้ ลักษณะที่สำคัญของปลากัดสองสีลำตัวสีอ่อนที่ดีคือสีลำตัวและสีครีบต้องตัดกันชัดเจน ครีบที่มีสีเข้มจะดีกว่าครีบสีอ่อน สีของลำตัวและสีของ ครีบแยกกันตรงบริเวณส่วนต่อระหว่างครีบและลำตัว

ปลากัดสีลวดลาย
ปลากัดที่อยู่ในประเภทนี้เป็นปลากัดที่ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทสีเดี่ยวและสองสี ประกอบด้วยกลุ่มย่อย ๆ ดังนี้
(1) ปลากัดลายผีเสื้อ
ปลากัดลายผีเสื้อเป็นปลากัดที่มีสีเป็นลวดลายรูปแบบเฉพาะที่บริเวณครีบ โดยครีบจะมีสีเป็นแถบ ๆ ขนานกับเส้น วงรอบลำตัว การพิจารณาลักษณะ ที่ดีของปลากัดลายผีเสื้อ จะพิจารณาที่การตัดกันของแถบสี และความคมของขอบสีเป็นหลักไม่ใช่ดูที่สีของลำตัวและครีบเหมือนทั่ว ๆ ไป ปลากัดที่ มีสีของครีบซึ่งแถบสีด้านในเป็นสีเหลืองและแถบด้านนอกเป็นสีเหลืองอ่อนจึงไม่จัดอยู่ในประเภทลายผีเสื้อ แนวของแถบสีบนครีบควรลากเป็นรูปไข่ รอบตัวปลา ปลากัดลายผีเสื้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ลายผีเสื้อ 2 แถบสี ครีบจะประกอบด้วยแถบสีที่ตัดกันชัดเจน 2 แถบ ลักษณะที่ดีแถบสีทั้งสองควรจะมีความกว้างเท่ากัน เป็นคนละครึ่งของความ กว้างของครีบ
- ลายผีเสื้อหลายแถบสี หมายถึงปลากัดลายผีเสื้อที่สีของครีบมีตั้งแต่ 3 แถบขึ้นไป ลักษณะที่ดีความกว้างของแถบสีแต่ละแถบควรจะเท่ากับความ กว้างของครีบหารด้วยจำนวนแถบสี สีของลำตัวและสีของครีบแถบแรกที่อยู่ชิดลำตัวอาจเป็นสีเดียว สองสี ลายหินอ่อน หรือหลากสีก็ได้

(2) ปลากัดลายหินอ่อน
ปลากัดลายหินอ่อนเป็นปลากัดในชุดของปลาที่มีสีเป็นลวดลายรูปแบบเฉพาะ เช่นเดียวกันโดยครีบจะไม่มีแถบสี และบนลำตัวจะมีสีอื่นแต้มเป็น ลวดลายหินอ่อน ปลากัดลายหินอ่อนแบ่งออกเป็นชนิดหลัก ๆ 2 ชนิด
 ลายหินอ่อนธรรมดา ปลากัดชนิดนี้จะไม่มีสีแดง เขียว น้ำเงิน และเทา ปรากฎในลายหินอ่อน บนครีบก็จะไม่ปรากฏสีเหล่านี้เช่นกัน ปลาจะมีสีดำเข้ม หัวหรือหน้าขาว ลวดลายจะประกอบด้วยสีดำ สีเนื้อ และสีขาวเท่านั้น
ลายหินอ่อนสี สีบริเวณหน้าและคางยังคงลักษณะเป็นสีขาว หรือสีเนื้อ แต่ลำตัวและครีบอาจปรากฏสีผสมของสีแดง เขียว น้ำเงิน และเทา ลำตัวของปลากัดลาย หินอ่อนสีอาจประกอบด้วยสีเหล่านี้ในลวดลาย แต่จะต้องมีสีเนื้ออยู่

รูปปลากัด










วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การแบ่งกลุ่มของปลากัด

โดยทั่วไปแล้วนักเลงปลากัดมักแบ่งปลากัดออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆได้แก่
1. ปลากัดทุ่งหรือปลากัดป่า ซึ่งพบอยู่ตามธรรมชาติอาทิเช่น ทุ่งนา หนองน้ำ บึง มีความสามารถในชั้นเชิงการต่อสู้แตกต่างออกไปในแต่ละถิ่น ความพิเศษของปลากัดป่าอยู่ที่ความเป็นนักสู้โดยธรรมชาติ

และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือ การที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูกกระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือกขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจน ทำให้ดูสง่า อาจหาญ และสวยงาม

ปลากัดป่ามหาชัย
ปลากัดป่าภาคอีสาน
 
ปลากัดป่าภาคอีสาน

2. ปลากัดลูกหม้อ เป็นปลากัดที่ได้จากผู้เลี้ยงในสมัยก่อนคัดพันธุ์ปลากัดทุ่งหรือปลากัดป่าจาก

แหล่งต่างๆมาผสมพันธุ์กันเพื่อให้ได้ลูกปลากัดที่มีลักษณะดี แข็งแรง กัดทน และดุ ลูกปลาที่ได้จะนำไปเลี้ยงในหม้อดิน ดังนั้นคำว่า “ลูกหม้อ" หรือ “ปลากัดลูกหม้อ” นั้นจึงได้ชื่อมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด นั่นเอง ปลากัดลูกหม้อจะมีรูปร่างหนาและใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขาม สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน

ปลากัดลูกหม้อ

ปลากัดลูกหม้อ

3. ปลากัดสังกะสี เป็นปลากัดลูกผสมระหว่างปลากัดหม้อเพศผู้กับปลากัดทุ่งเพศเมีย ปลากัดสังกะสี

จะกัดทนไม่เท่ากับปลากัดหม้อ แต่จะทนกว่าปลากัดทุ่ง นอกจากนี้ยังมีผู้คิดเอาปลากัดสังกะสีเพศผู้ผสมกับปลากัดทุ่งเพศเมียออกมาเป็นปลากัดที่เรียกว่า ซ้ำสาม หมายถึง ปลาที่มีลูกผสมระหว่างปลาลูกทุ่ง ลูกหม้อ และสังกะสี


ปลากัดลูกผสมระหว่าง ปลากัดหม้อและปลากัดป่าภาคใต้

ปลากัดลูกผสมระหว่างปลากัดหม้อและปลากัดป่าภาคใต้
 4. ปลากัดครีบยาวหรือปลากัดจีน หลายคนเข้าใจผิดว่าปลากัดจีนเป็นปลากัดอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมาจากประเทศจีน ซึ่งโดยแท้จริงแล้วปลาชนิดนี้ก็เป็นปลากัดไทยที่มีพื้นเพมาจากปลากัดป่า ซึ่งเกิดจากการผสมคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาลูกหม้อที่กัดเก่งมีลักษณะที่ดีสวยงาม แต่เผอิญได้ปลาชนิดใหม่ที่ครีบและหางยาวออกมามากกว่าปกติ หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ครีบ และหางที่แผ่กว้างขึ้น มีลักษณะสวยงามขึ้น มีสีสันใหม่ ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะลักษณะครีบที่ยาว รุ่มร่าม และสีสันฉูดฉาดนี้เองจึงมองดูเหมือนอุปรากรจีน หรือ งิ้ว ซึ่งใส่ชุดที่มีสีสันฉูดฉาด ปลายแขนและขอบชุดยาวทำให้เวลาร่ายรำมองดูพลิ้วไปมา จึงเรียกปลากัดพวกนี้ว่า ปลากัดจีน ปลากัดครีบยาวนิยมเลี้ยงกันมากในต่างประเทศ และได้พัฒนาสายพันธุ์ไปหลากหลายสายพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เลี้ยง
ปลากัดครีบยาว

ปลากัดครีบยาว

ปลากัดครีบยาว

ลากัดครีบยาวหางมงกุฎหนาม

ลากัดครีบยาวหางมงกุฎหนาม

ลากัดครีบยาวหางมงกุฎหนาม